เกี่ยวกับ อบต.

ประวัติความเป็นมา

     มีผู้เฒ่าเก่าแก่เล่าว่า เมื่อประมาณ ๒๐๐ ปีเศษ ชาวตำบลสวนป่านมีอาชีพด้านการทำนา

เลี้ยงสัตว์เป็นอาชีพหลัก ต่อมาประสบปัญหาแห้งแล้งหลายปีติดต่อกันไม่สามารถทำนาได้

จึงปล่อยทิ้ง ทำให้มีต้นป่านขึ้นมาเป็นจำนวนมาก ชาวบ้านจึงไปเก็บมาทำเชือกสำหรับล่ามสัตว์

ประเภท โค กระบือ ม้า ฯลฯ จนชาวบ้านตั้งชื่อว่าตำบลสวนป่านมาจนทุกวันนี้

วิสัยทัศน์และพันธกิจ

วิสัยทัศน์(Vision)

“ ส่งเสริมอาชีพ เร่งรีบพัฒนา ส่งเสริมการกีฬา รู้ปัญหาในชุมชน ”

พันธกิจ(Mission)

     ๑. ยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ สนับสนุนกิจกรรมเกี่ยวกับการต่อต้านยาเสพติด จัดระบบ

ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

     ๒. พัฒนาอาชีพสร้างรายได้ให้แก่ประชาชน และสนับสนุนเศรษฐกิจพอเพียง ส่งเสริมมาตรฐาน

คุณภาพชีวิตเกษตร

     ๓. ส่งเสริมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ

     ๔. พัฒนาระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ โครงสร้างพื้นฐานให้ได้มาตรฐาน และ ประชาชน

ได้รับบริการอย่างทั่วถึง

     ๕. ส่งเสริมสนับสนุนการศึกษา และศิลปวัฒนธรรม ประเพณีอันดีงามของท้องถิ่น

     ๖. พัฒนาศักยภาพการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตาบล ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมใน

การตรวจสอบบริหารงาน เพื่อพัฒนาไปสู่การบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี

เป้าหมาย

     ๑. สร้างชุมชนให้เข้มแข็ง มีความปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สิน และสุขภาพอานามัยที่แข็งแรงสมบูรณ์

     ๒. ส่งเสริมอาชีพสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้

     ๓. พัฒนาฟื้นฟูสภาพทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

     ๔. พัฒนาระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ และโครงสร้างพื้นฐาน

     ๕. ส่งเสริมการเรียนรู้ของประชาชนและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีอันดีงามของท้องถิ่น

     ๖. พัฒนาศักยภาพการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลไปสู่การบริหารจัดการบ้านเองที่ดี

ชื่อหมู่บ้าน ครัวเรือน ชาย หญิง รวม -
หมู่ที่ 1 บ้านทุ่งแฝก 253 323 310 633 คน
หมู่ที่ 2 บ้านห้วยลึกตะวันออก 269 384 355 739 คน
หมู่ที่ 3 บ้านห้วยลึกตะวันตก 173 237 265 502 คน
หมู่ที่ 4 บ้านหนองควายตาย 101 158 199 357 คน
หมู่ที่ 5 บ้านรางปลาหมอ 171 243 281 524 คน
หมู่ที่ 6 บ้านสวนป่าน 264 325 393 718 คน
ข้อมูลรวม : คน

สภาพทั่วไปและลักษณะภูมิประเทศ

ที่ตั้งของหมู่บ้านหรือชุมชนหรือตำบล

     ลักษณะที่ตั้งตำบลสวนป่านเป็นตำบลหนึ่งในจำนวน ๒๔ ตำบล ของอำเภอเมืองนครปฐม

จังหวัดนครปฐม อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองนครปฐมไปตามถนนเพชรเกษม สายนครปฐม – ราชบุรี

ประมาณ ๑๗ กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ ๕,๑๔๐ ไร่ หรือ ๘.๒๕ ตารางกิโลเมตร ลักษณะภูมิประเทศ

เป็นที่ราบลุ่ม ดินและน้ำอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การประกอบอาชีพเกษตรกรรม ไม่มีภูเขา ป่าไม้ และ

ทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ

ลักษณะภูมิประเทศ

     ตำบลสวนป่าน ตั้งอยู่บนที่ราบภาคกลางตอนล่างหรือที่ราบลุ่ม พื้นดินค่อนข้างราบเรียบ

มีความลาดเทประมาณ ๑ – ๒ องศา ระดับความสูง ระหว่าง ๕ – ๙ เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง

มีจุดสูงสุดอยู่ที่ความสูง ๑๕ เมตร มีความกว้างจากตะวันตกไปถึงตะวันออกประมาณ ๑๘ กิโลเมตร

ครอบคลุมพื้นที่ทางตะวันตก และทางตะวันตกเฉียงเหนือของอำเภอเมืองนครปฐม บริเวณนี้เป็นแหล่ง

ปลูกพืชไร่สาคัญ ได้แก่ อ้อย และข้าวโพดฝักอ่อน

ลักษณะภูมิอากาศ

     ภูมิอากาศของตำบลสวนป่านจัดอยู่ในประเภทฝนเมืองร้อนเฉพาะฤดู (tropical savannah climate)

สภาพอากาศโดยทั่วไปขึ้นอยู่กับอิทธิพลของลมมรสุม ฤดูฝนจึงมีฝนตกชุก ฤดูร้อนอากาศค่อนข้างร้อน

ส่วนฤดูหนาวอากาศไม่หนาวจัด จากสถิติของสถานีตรวจอากาศเกษตรกำแพงแสน กรมอุตุนิยมวิทยา

ในช่วง ๒๐ ปี (พุทธศักราช ๒๕๑๕ – ๒๕๓๕) เฉลี่ยแล้วอุณหภูมิทั้งปีประมาณ ๒๘ องศาเซลเซียส

โดยฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคม อากาศจะร้อนและแห้ง อุณหภูมิสูงสุด

จะอยู่ในช่วงเดือนเมษายน เฉลี่ย ๓๖.๘ องศาเซลเซียส ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมไปจนถึง

เดือนตุลาคม ซึ่งเป็นช่วงมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดผ่าน มีปริมาณฝนรวมต่อปี ๑,๐๐๒.๑ มิลลิเมตร

มีจำนวนวันที่ฝนตกเฉลี่ย ๑๐๑.๘ วัน โดยฝนจะทิ้งช่วงในเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม และจะตกชุก

ในเดือนกันยายน ช่วงฤดูฝนมีความชื้นสัมพันธ์เฉลี่ย ๗๒ % ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน

ไปจนถึงเดือนมกราคม ซึ่งเป็นช่วงที่ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ พัดพาความหนาวมาสู่ประเทศไทย

โดยมีลักษณะอากาศหนาวเย็นเป็นช่วง ๆ ช่วงหนาวที่สุด จะอยู่ในราวปลายเดือนธันวาคมถึง

สิ้นเดือนมกราคม อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย ๑๗.๒ องศาเซลเซียส และความชื้นสัมพันธ์เฉลี่ย ๓๔ – ๔๐ %

ลักษณะของดิน

     ลักษณะดินโดยทั่วไปเป็นดินร่วนปนทราย ประมาณ ๖๕ % ดินทราย ประมาณ ๒๕ %

ลักษณะดินในพื้นที่เป็นดินเหนียวประมาณ ๑๐ %

ลักษณะของแหล่งน้ำ

     มีแหล่งน้ำที่ใช้สาหรับอุปโภค-บริโภคที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ และที่องค์การบริหารส่วนตำบล

สวนป่านได้ดำเนินการปรับปรุงก่อสร้างขึ้นใหม่เพื่อเพียงพอกับการอุปโภคและบริโภคของประชาชน ดังนี้

     แหล่งน้ำธรรมชาติ พื้นที่ของตำบลสวนป่าน มีลำคลองไหลผ่านสองสาย คลองลำสระเกศและคลอง

บางแก้ว ไหลผ่านหมู่ที่ ๑ , ๒ , ๓ และ ๕

     แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น บ่อบาดาล ๑๒ แห่ง บึง หนอง และคลองส่งน้ำ – ระบายน้ำ ๑๒ แห่ง

ทรัพยากรน้ำ น้ำประปาแยกเป็นแทงค์น้ำประปา ดังนี้

     หมู่ที่ ๑ บ้านทุ่งแฝก ๓ แห่ง

     หมู่ที่ ๒ บ้านห้วยลึกตะวันออก ๔ แห่ง

     หมู่ที่ ๓ บ้านห้วยลึกตะวันตก ๒ แห่ง

     หมู่ที่ ๔ บ้านหนองควายตาย ๑ แห่ง

     หมู่ที่ ๕ บ้านรางปลาหมอ ๑ แห่ง

     หมู่ที่ ๖ บ้านสวนป่าน ๑ แห่ง

ลักษณะของไม้และป่าไม้

     ในเขต พื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลสวนป่านไม่มีป่าไม้ แต่มีต้นไม้ที่ชาวบ้านปลูกลักษณะ

ของไม้เป็นไม้ยืนต้น ผลัดใบ

การเมืองการปกครอง

     องค์การบริหารส่วนตำบลสวนป่านมีหมู่บ้านอยู่ในเขตพื้นที่ทั้งหมด ๖ หมู่บ้าน แต่ละหมู่บ้านมี

กรรมการฯ ซึ่งเป็นตัวแทนของ หมู่บ้าน ๑๐๐ คน ดังนี้ หมู่ที่ ๑ กรรมการฯ ๑๐ คน ,หมู่ที่ ๒ กรรมการฯ

๑๓ คน ,หมู่ที่ ๓ กรรมการฯ ๒๐ คน ,หมู่ที่ ๔ กรรมการฯ ๑๗ คน ,หมู่ที่ ๕ กรรมการฯ ๒๐ คน ,หมู่ที่ ๖ 

กรรมการฯ ๒๐ คน ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดซื้อจัดจ้างของ องค์การบริหารส่วนตำบลสวนป่าน

ประชาชนให้ความร่วมมือด้านการเลือกตั้งเป็นอย่างดี เช่น การเลือกตั้งสมาชิกสภา องค์การ

บริหารส่วนตำบล ประชาชนมาใช้สิทธิเลือกตั้ง จำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งนายก องค์การ

บริหารส่วนตำบล ๑,๕๕๒ คน จากผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งสิ้น ๒,๖๑๒ คน คิดเป็นร้อยละ ๕๙.๔๒ จำนวน

ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภา องค์การบริหารส่วนตำบล ๒,๑๑๘ คน จากผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งสิ้น

๒ ,๕๖๒ คน คิดเป็นร้อยละ ๘๒.๖๖ เมื่อพิจารณาจากจำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งว่าประชาชน

ให้ความสำคัญกับการเลือกผู้บริหาร และตัวแทนในการปฏิบัติงานเป็นอย่างยิ่ง จากเหตุนี้จะเห็นได้ว่า

ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองค่อนข้างน้อยมาก ในการดำเนินงานของคณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่

การดำเนินงานต่างๆ ถือประชาชนเป็นหลัก เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนา

องค์การบริหารส่วนตำบล โดย การประชุมประชาคม รับฟังปัญหา และความต้องการของชุมชน

จากผลการประชุมทุกครั้งที่องค์การบริหารส่วนตำบลสวนป่านจัดขึ้น มีประชาชนสนใจเข้าร่วมประชุม

รวมทั้งแสดงความคิดเห็นที่หลากหลาย ส่งผลให้ องค์การบริหารส่วนตำบลสวนป่าน ดำเนินงาน

ตามความต้องการของประชาชน และประชาชนได้รับและมีส่วนร่วมในการพัฒนา องค์การ

บริหารส่วนตำบลสวนป่าน นอกจากนี้องค์การบริหารส่วนตำบลสวนป่าน ได้จัดโครงการอบรมศึกษา

ดูงาน ของคณะผู้บริหาร สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล พนักงานองค์การบริหารส่วนตำบล และ

กรรมการชุมชนโครงการอื่นๆ สำหรับประชาชนอีกหลายโครงการ เพื่อนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับ

มาพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลให้เจริญเท่าเทียมกับองค์การบริหารส่วนตำบล อื่นๆ และองค์การ

บริหารส่วนตำบลสวนป่าน มีโครงการจัดซื้อเครื่องมือเครื่องใช้ในการปฏิบัติงานให้ทันสมัยและ

มีประสิทธิภาพ โครงการบางโครงการต้องระงับไว้เนื่องจากข้อจำกัดด้านงบประมาณ มีอัตรากำลัง

พนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลจำกัด ไม่เพียงพอต่อการตอบสนองความต้องการของประชาชน

ในด้านการบริการ โดยองค์การบริหารส่วนตำบลสวนป่านแบ่งเขตการปกครอง ดังนี้

เขตการปกครอง

     ตำบลสวนป่านเป็นตำบลหนึ่งในจำนวน ๒๔ ตำบล ของอำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม

อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองนครปฐมไปตามถนนเพชรเกษม สายนครปฐม – ราชบุรี ประมาณ ๑๗

กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ ๕,๑๔๐ ไร่ หรือ ๘.๒๕ ตารางกิโลเมตร ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่ม ดิน

และน้ำอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การประกอบอาชีพเกษตรกรรม ไม่มีภูเขา ป่าไม้ และทรัพยากรธรรมชาติ

อื่น ๆ

     ได้จัดตั้ง องค์การบริหารส่วนตำบลสวนป่าน เมื่อวันที่ พ.ศ. ๒๕๓๙

     อาณาเขตขององค์การบริหารส่วนตำบลสวนป่าน

     ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลสระกะเทียม อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม

     ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลหนองโพ อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี

     ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลสระกะเทียม อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม

     ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลดอนกระเบื้อง อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี

 

สภาพเศรษฐกิจและสังคม

การเกษตร

     ประชากรในเขต พื้นที่ตำบลสวนป่าน ร้อยละ ๘๐ ประกอบอาชีพเกษตรกรรมผลผลิต

ทางการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ข้าวโพดฝักอ่อน ข้าว อ้อย หญ้าเลี้ยงสัตว์ (วัว) ดังนี้

     อาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ ๘๐ ของจำนวนประชากรทั้งหมด

     อาชีพเลี้ยงสัตว์ ร้อยละ ๒๕ ของจำนวนประชากรทั้งหมด

     อาชีพรับจ้าง ร้อยละ ๑๓ ของจำนวนประชากรทั้งหมด

     อาชีพค้าขาย ร้อยละ ๙ ของจำนวนประชากรทั้งหมด

การประมง

     ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลสวนป่านไม่พบว่ามีการประมง

ด้วยลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่ม

การปศุสัตว์

     เป็นการประกอบการในลักษณะเลี้ยงในครัวเรือนเป็นอาชีพหลักและอาชีพเสริม เช่น

การเลี้ยงวัว เลี้ยงไก่ เลี้ยงเป็ด เลี้ยงสุกร เลี้ยงกระบือ จำนวนสัตว์ในพื้นที่โดยประมาณ ดังนี้

     วัว ๔๕๕ ตัว กระบือ ๗๕ ตัว สุกร ๖๐ ตัว

     เป็ด ๓๒๑ ตัว ไก่ ๑๓๗ ตัว อื่นๆ ๕๑๕ ตัว

การท่องเที่ยว

     ในเขตพื้นที่ตำบลสวนป่าน ไม่มีแหล่งท่องเที่ยว แต่ องค์การบริหารส่วนตำบลสวนป่าน

ได้ส่งเสริมการท่องเที่ยวให้เกิดขึ้นในชุมชน เช่น ส่งเสริมการสืบสานวัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่น

(งานประจาปีของวัดในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลสวนป่าน และ การจัดงานประเพณีต่างๆ)

เพื่อให้ประชาชนในตำบลสวนป่านได้ทำกิจกรรมร่วมกัน เยาวชนได้เรียนรู้วัฒนธรรมและประเพณี

ท้องถิ่นและมีส่วนร่วมสืบสานอนุรักษ์ประเพณีท้องถิ่น

อุตสาหกรรม

     เนื่องด้วยตำบลสวนป่านเป็นพื้นที่การเกษตร ร้อยละ ๘๐ อุตสาหกรรมที่พบในเขตพื้นที่เป็น

กิจการอุตสาหกรรมขนาดเล็ก (มีคนงานต่ำกว่า ๑๐ คน หรือมีทรัพย์สินถาวรที่เกิน ๑ ล้านบาท)

และอุตสาหกรรมครัวเรือนมักทำกันในครอบครัวหรือหมู่บ้าน ไม่ใช้แรงงาน ทุนและปัจจัยมาก

แต่มักจะได้กำไรต่ำ อุตสาหกรรมจาพวกนี้มีตัวอย่าง เช่น สินค้าโอท็อป (หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์) 

จำนวน กิจการอุตสาหกรรมขนาดเล็ก

     โรงสีข้าว จำนวน ๑ แห่ง (หมู่ที่ ๑)

     โรงหล่อพระ จำนวน ๑ แห่ง (หมู่ที่ ๕)

     โรงย้อมผ้า จำนวน ๑ แห่ง (หมู่ที่ ๓)

     โรงงานน้ำพริก จำนวน ๒ แห่ง (หมู่ที่ ๖)

การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ

     การพาณิชย์

     สถานีบริการน้ำมัน ๑ แห่ง (หมู่ที่ ๑)

     ตลาดสด ๑ แห่ง

     ร้านค้าต่างๆ ๔๘ แห่ง (ข้อมูลจากการจดทะเบียนพาณิชย์)

     ร้านสะดวกซื้อ ๑ แห่ง (หมู่ที่ ๑)

     กลุ่มอาชีพ

     มีกลุ่มอาชีพ จำนวน ๑ กลุ่ม

     ๑. กลุ่มข้าวโพดฝักอ่อน (หมู่ที่ ๕)

แรงงาน

     จากการสำรวจข้อมูลพื้นฐานพบว่า ประชาชนที่มีอายุ ๑๕ – ๖๐ ปี อยู่ในช่วงวัยกำลังแรงงาน

ร้อยละ ๙๕ เมื่อเทียบกับอัตราส่วนกับจังหวัด ร้อยละ ๗๓.๙๙ ซึ่งสูงกว่ามาก แต่ค่าแรงในพื้นที่

ต่ำกว่าระดับจังหวัด โดยเฉพาะแรงงานด้านการเกษตร ประชา ชนอายุระหว่าง ๒๕ – ๕๐ ปี บางส่วน

ไปรับจ้างทำงานนอกพื้นที่ ปัญหาที่พบคือ ประชาชนต้องไปทางานนอกพื้นที่ในเมืองที่มีโรงงาน

อุตสาหกรรม บริษัท ห้างร้านใหญ่ๆ เพราะในพื้นที่ไม่มีโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการจ้างแรงงานเยอะ

เพราะพื้นที่ส่วนมากเป็นที่อยู่อาศัย ปัญหานี้ยังไม่สามารถแก้ไขได้

อาชญากรรม

     องค์การบริหารส่วนตำบลสวนป่านไม่มีเหตุอาชญากรรมเกิดขึ้น แต่มีอุบัติเหตุจากการใช้รถ

ใช้ถนน ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลสวนป่าน ก็ได้ดำเนินการป้องกันการเกิดเหตุดังกล่าว ส่วนมาก

ครัวเรือนมีการป้องกันอุบัติภัยอย่างถูกวิธี มีความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน วิธีการแก้ปัญหาของ

องค์การบริหารส่วนตำบลสวนป่านที่สามารถดำเนินการได้ตามอำนาจหน้าที่ และงบประมาณที่มีอยู่

อย่างจำกัด คือการติดตั้งกล้องวงจรปิดในจุดที่เป็นที่สาธารณะ ติดตั้งสัญญาณไฟกระพริบทางร่วม

ทางแยก ก่อสร้างและซ่อมแซมถนนภายในตำบลให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน รวมทั้งได้ตั้งจุดตรวจ

จุดสกัด จุดบริการ ในช่วงเทศกาลที่มีวันหยุดหลายวันเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชน

แต่ปัญหาที่พบเป็นประจำคือการ ขับมอเตอร์ไซค์ของกลุ่มวัยรุ่น โดยเฉพาะในช่วงที่มีการจัดงานดนตรี

งานมหรสพ เป็นปัญหาที่ชุมชนได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก การแก้ไขปัญหา คือการแจ้งเตือน

ให้ผู้ปกครองดูแลบุตรหลานของตน ประชาสัมพันธ์ให้ทราบถึงผลกระทบ ผลเสียหายและโทษที่ได้รับ

จากการเกิดอุบัติเหตุ การขอความร่วมมือไปยังผู้นำ การขอกำลังจาก ตำรวจ ผู้นำ อปพร. 

เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ แต่จะไม่ให้เกิดขึ้นเลยยังเป็นปัญหาที่ปัจจุบันไม่สามารถที่จะแก้ไขได้

ทั้งที่มีการร่วมมือกันหลายฝ่าย เป็นเรื่องที่ทาง องค์การบริหารส่วนตำบลสวนป่าน จะต้องหาวิธี

ที่จะแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนต่อไปตามอำนาจหน้าที่ที่สามารถดำเนินการได้

ยาเสพติด

     ปัญหายาเสพติดในชุมชนของ องค์การบริหารส่วนตำบลสวนป่าน จากการที่ทางสถานีตำรวจภูธร

อำเภอเมืองนครปฐม ได้แจ้งให้กับองค์การบริหารส่วนตำบลสวนป่าน ทราบนั้นพบว่าในเขต

องค์การบริหารส่วนตำบลสวนป่าน มีผู้ที่ติดยาเสพติดแต่เมื่อเทียบกับพื้นที่อื่นถือว่าน้อย

และยังไม่พบผู้ค้าเหตุผลก็เนื่องมาจากว่าได้รับความร่วมมือกับทางผู้นำ ประชาชน หน่วยงานของ

องค์การบริหารส่วนตำบลสวนป่าน ที่ช่วยสอดส่องดูแลอยู่เป็นประจำ การแก้ไขปัญหาของ

องค์การบริหารส่วนตำบลสวนป่าน สามารถทำได้เฉพาะตามอำนาจหน้าที่เท่านั้น เช่น การณรงค์

การประชาสัมพันธ์ การแจ้งเบาะแส การจัดโครงการฝึกอบรมให้ความรู้แก่เยาวชนในเขตพื้นที่

ตำบลสวนป่าน ถ้านอกเหนือจากอำนาจหน้าที่ ก็เป็นเรื่องของอำเภอหรือตำรวจแล้วแต่กรณี ทั้งนี้

องค์การบริหารส่วนตำบลสวนป่านก็ได้ให้ความร่วมมือมาโดยตลอด

     ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลสวนป่าน ได้ดำเนินโครงการสำรวจข้อมูลพื้นฐานในเขต

พื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลสวนป่าน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๙ เพื่อนำผลการสำรวจ

มาพิจารณาแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นให้แก่ชุมชน ผลการสำรวจพบว่าประชาชนในเขต พื้นที่

องค์การบริหารส่วนตำบลสวนป่าน ไม่พบประชากรที่สูบบุหรี่ และดื่มสุรา

การสังคมสังเคราะห์

     องค์การบริหารส่วนตำบลสวนป่านได้ดำเนินการด้านสงคมสังเคราะห์ ดังนี้

     ๑. ดำเนินการจ่ายเบี้ยยังชีพให้กับผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ป่วยเอดส์

     ๒. ดำเนินการรับลงทะเบียนและประสานโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด

     ๓. ดำเนินการประสานการทำบัตรผู้พิการ

     ๔. ดำเนินการโครงการอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการ

     ๕. ดำเนินการโครงการใส่ใจห่วงใยผู้สูงอายุ/ผู้พิการ (เยี่อมเยือนผู้สูงอายุ/ผู้พิการที่ติดเตียง)

     ๖. ดำเนินการโครงการจัดตั้งศูนย์ประสานงานชมรมผู้สูงอายุ/ชมรมเยาวชน

สภาพทางการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

การศึกษา

     จากการสำรวจข้อมูลพื้นฐานพบว่า ประชากรอายุ ๑๕ – ๖๐ ปีเต็ม ร้อยละ ๙๙ อ่าน เขียนภาษไทย

และคิดเลขอย่างง่ายได้ เด็กอายุ ๖ – ๑๔ ปี ร้อยละ ๑๐๐ ได้รับการศึกษาภาคบังคับ ๙ ปี ได้เรียนต่อ

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ หรือเทียบเท่า และที่ไม่ได้เรียนต่อมีงานทำ ร้อยละ ๙๙ ด้านการศึกษาอยู่ในเกณฑ์

ที่ดี ปัญหาคือ ยังไม่สามารถที่จะแข่งขันกับเมืองใหญ่ๆ ได้ การแก้ปัญหาของ องค์การบริหารส่วนตำบล

สวนป่าน ได้จัดกิจกรรมให้กับเด็กของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก การสนับสนุนอาหารเสริมนม อาหารกลางวัน

ให้กลับทางโรงเรียนในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลสวนป่าน และร่วมกันจัดกิจกรรมต่างๆ

กับทางโรงเรียน ซึ่งมีโรงเรียนระดับประถมศึกษาในเขตตำบลสวนป่าน จำนวน ๒ แห่ง ดังนี้

     ๑. โรงเรียนวัดใหม่ห้วยลึก ตั้งอยู่หมู่ที่ ๒ ตำบลสวนป่าน อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม

     ๒. โรงเรียนวัดรางปลาหมอ ตั้งอยู่หมู่ที่ ๕ ตำบลสวนป่าน อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม

การนับถือศาสนา

     ผู้ที่นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ ๙๘

     สถาบันและองค์กรทางศาสนา มีวัดในเขตตำบล ๒ แห่ง ดังนี้

     ๑. วัดใหม่ห้วยลึก

     ๒. วัดรางปลาหมอ

     สถานปฏิบัติธรรม มีสำนักสงฆ์ในเขตตำบล ๑ แห่ง ดังนี้

     ๑. สวนธรรมแสงเทียน

ประเพณีและงานประจำปี

     ประเพณีงานประจำปีวัดใหม่ห้วยลึก ประมาณเดือน กุมภาพันธ์

     ประเพณีวันสงกรานต์ ประมาณเดือน เมษายน

     ประเพณีวันเข้าพรรษา ประมาณเดือน กรกฎาคม

     ประเพณีวันออกพรรษา ประมาณเดือน ตุลาคม

     ประเพณีวันลอยกระทง ประมาณเดือน พฤศจิกายน

ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่น

     ภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือภูมิปัญญาชาวบ้านหมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่ชาวบ้านคิดขึ้นได้เองและนำมา

ใช้ในการแก้ปัญหา เป็นเทคนิควิธี เป็นองค์ความรู้ของชาวบ้าน ทั้งทางกว้างและทางลึกที่ชาวบ้านคิด

เอง ทำเอง โดยอาศัยศักยภาพที่มีอยู่แก้ปัญหาการดำเนินชีวิตในท้องถิ่นได้อย่างเหมาะสมกับยุคสมัย

     ตำบลสวนป่านเป็นสังคมเกษตรกรรม ที่ประชาชนสามารถผลิตปัจจัยในการดำรงชีวิตได้เอง

เป็นส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็น เรื่องอาหารการกิน หรือเครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบ

อาชีพรวมถึงการปลูกพืชสมุนไพรเพื่อใช้ภายในตำบล หากผลผลิตมีจำนวนมากก็ส่งออกขายได้ด้วย

(หมู่ที่ 6 บ้านสวนป่าน ปลูกสมุนไพร เช่น ย่านาง ใบเตย ฯลฯ) หรือคติความเชื่อในการดำรงชีวิต

ประจำวันก็ตาม (ซึ่งเป็นหลักพื้นฐานขององค์ความรู้) องค์การบริหารส่วนตำบลสวนป่านเห็นถึงความ

สำคัญในการสืบสาน ภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยจัดโครงการกิจกรรมและงบประมาณไว้ในแผนพัฒนา

ท้องถิ่นในทุกๆปี เพราะเชื่อว่า ภูมิปัญญาท้องถิ่นนั้นเป็นตัวชี้ลักษณะที่สำคัญของการแสดงถึงความเจริญ

งอกงามและความเป็นระเบียบของท้องถิ่น เป็นวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ที่ได้ถ่ายทอดสืบต่อกันมา

     ภาษาถิ่น ส่วนมากร้อยละ ๙๙ % พูดภาษาภาคกลาง

สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก

     สินค้าพื้นเมือง สินค้าส่วนใหญ่เป็นผลิตผลทางการเกษตร ประชาชนในเขต พื้นที่ประกอบ

อาชีพเกษตรกรรมมีบางพื้นที่มีการเลี้ยงวัวนม (ส่งโรงนมหนองโพ ราชบุรี)

     ของที่ระลึก ตำบลสวนป่านมีผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากภูมิปัญญาดั้งเดิมของประชาชนในชุมชน

เดิมผลิตเพื่อจำหน่ายภายในตำบล ต่อมาได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ และทำบรรจุภัณฑ์เพื่อให้สินค้ามีคุณค่า

สามารถส่งออกจาหน่ายพื้นที่ใกล้เคียง และยังสามารถนาไปเป็นของฝาก ของที่ระลึกได้ด้วยมีดังนี้

น้ำพริกแม่ส.สุขใจ น้ำพริกแม่นภา และรองเท้าที่เป็นสินค้าโอทอปของบ้านทุ่งแฝก หมู่ที่ ๑

การบริการพื้นที่และทรัพยากรธรรมชาติ

การคมนาคมขนส่ง

     องค์การบริหารส่วนตำบลสวนป่าน มีถนนในตำบลทั้งหมด ๗๘ สาย ซึ่งเป็นถนนลาดยาง

๓๔ แห่ง ถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก ๑๖ แห่ง และถนนหินคลุกลูกรัง ๒๘ แห่ง

การไฟฟ้า

     การขยายเขตไฟฟ้า ปัจจุบันมีไฟฟ้าใช้ทุกครัวเรือน คิดเป็น ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ ปัญหาคือ

ไฟฟ้าส่องสว่างทางหรือไฟฟ้าทางสาธารณะยังไม่สามารถดำเนินการครอบคลุมพื้นที่ได้ทั้งหมด

เนื่องจากพื้นที่ที่มีความต้องการให้ติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่างนั้นยังไม่เป็นที่สาธารณะ องค์การ

บริหารส่วนตำบลสวนป่าน จึงไม่สามารถดำเนินการได้ เช่นเดียวกับถนน การแก้ปัญหาคือ

ประสานความร่วมมือกันในหลายๆ ฝ่าย เพื่อที่จะทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ และวิธีการ

ที่จะดำเนินการแก้ไขอย่างไร ทั้งนี้ องค์การบริหารส่วนตำบลสวนป่าน ก็ได้ตั้งงบประมาณในส่วนนี้

ไว้แล้ว และได้แจ้งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับทราบถึงเหตุผลเพื่อที่จะได้ช่วยกันแก้ไขปัญหา

ให้กับชุมชน ปัจจุบันในเขต พื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลสวนป่าน มีไฟฟ้าใช้ ดังนี้

     ๑. จำนวนครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้า ๘๙๘ หลังคาเรือน

     ๒. ไฟฟ้าสาธารณะ ครอบคลุมถนนทุกสายในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลสวนป่าน

การประปา

     การประปา องค์การบริหารส่วนตำบลสวนป่านมีกิจการประปาเป็นของ องค์การบริหารส่วนตำบล

สวนป่าน เอง สามารถให้บริการได้ครอบคลุมทุกหลังคาเรือน คิดเป็น ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ และมีน้ำใช้

ตลอดทั้งปี ปัญหาคือ มีข้อร้องเรียนเรื่องน้ำประปาขุ่นบ่อยครั้ง สาเหตุเนื่องจากเป็นท่อ เมนประปาเก่า

เกิดการตกตะกอนของน้ำ และด้วยงบประมาณที่จำกัดขององค์การบริหารส่วนตำบลสวนป่านจึง

ไม่สามารถเปลี่ยนท่อเมนประปาได้คราวเดียวทั้งตำบล ประปาขององค์การบริหารส่วนตำบลสวนป่าน

ยังไม่สามารถที่จะผลิตเป็นน้ำประปาสาหรับบริโภคได้ ต้องใช้งบประมาณสูงมากในการดำเนินการ

ปัจจุบัน องค์การบริหารส่วนตำบลสวนป่าน ยังไม่ประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำสามารถที่จะจัดหา

น้ำดิบสำหรับผลิตประปาให้ชุมชนได้ การแก้ปัญหาคือ การลงพื้นที่ดำเนินการแก้ไขตามจุดที่เกิดปัญหา

ในทันที การพิจารณาโครงการต่างๆ ที่ไม่สามารถดำเนินการได้นั้น เช่น โครงการปรับปรุงท่อเมนประปา

ภายในตำบล องค์การบริหารส่วนตำบลสวนป่าน ก็ได้นำบรรจุในแผนพัฒนา ท้องถิ่นในทุกปีเพื่อที่จะ

พิจารณาดำเนินการในปีต่อไป เมื่อมีงบประมาณและความจำเป็นก็สามารถดำเนินโครงการได้ต่อเนื่อง

เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนต่อไป ปัจจุบันประชาชนมีประปาใช้แยกเป็น

แทงค์น้ำประปา ดังนี้

     หมู่ที่ ๑ บ้านทุ่งแฝก ๓ แห่ง

     หมู่ที่ ๒ บ้านห้วยลึกตะวันออก ๔ แห่ง

     หมู่ที่ ๓ บ้านห้วยลึกตะวันตก ๒ แห่ง

     หมู่ที่ ๔ บ้านหนองควายตาย ๑ แห่ง

     หมู่ที่ ๕ บ้านรางปลาหมอ ๑ แห่ง

     หมู่ที่ ๖ บ้านสวนป่าน ๑ แห่ง

สาธารณสุข

     จากการสำรวจข้อมูลพื้นฐานพบว่า ประชาชนส่วนมากมีสุขภาพที่ดี มีการคัดกรองสุขภาพ

ให้กับประชาชนกลุ่มเสี่ยง โรคที่มักเกิดแก่ประชา ชนในชุมชน ได้แก่ โรคความดัน เบาหวาน

โรคไข้เลือดออก โรคมือ-ปาก-เท้าในเด็ก และโรคอื่นๆ อีกมาก มีสถิติเข้ารับการรักษาพยาบาล

ปัญหาคือประชาชนบางรายไม่ยอมไปคัดกรองหรือตรวจสุขภาพประจำปี การแก้ไขปัญหา คือ

องค์การบริหารส่วนตำบลสวนป่าน และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสวนป่าน ได้จัดกิจกรรม

ร่วมมือกันรณรงค์ให้ชุมชนเห็นความสำคัญในเรื่องนี้ซึ่งก็ได้ผลในระดับหนึ่ง ประชาชนให้ความร่วมมือ

เป็นอย่างดี แต่ต้องเป็นการดำเนินการอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี สาหรับเด็กแรกเกิด - ๖ ปี

ผู้ปกครองสามารถเลี้ยงดูตรงตามเกณฑ์มาตรฐาน จากการสำรวจข้อมูลพื้นฐาน บางครัวเรือนไม่ได้

กินอาหารที่ถูกสุขลักษณะ การใช้ยาเพื่อบำบัดอาการเจ็บป่วยที่ไม่เหมาะสม การออกกำลังกายยังไม่

สม่ำเสมอ และประชา ชนส่วนมากไม่ได้รับการตรวจสุขภาพ ปัญหาเหล่านี้ องค์การบริหารส่วนตำบล

สวนป่าน พยายามอย่างยิ่งที่จะแก้ไข โดยร่วมมือกับโรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพตำบลสวนป่าน

จัดกิจกรรมเพื่อแก้ไขปัญหา

โทรศัพท์

     ๑. จำนวนโทรศัพท์สาธารณะในเขตพื้นที่ จำนวน ๖ หมายเลข

     ๒. จำนวนโทรศัพท์ส่วนบุคคล จำนวน ๗๓ หมายเลข

     ๓. จำนวนชุมสายโทรศัพท์ จำนวน ๑ ชุมสาย

     ๔. หอกระจายข่าวในพื้นที่ จำนวน ๗ หอ

     ให้บริการได้ครอบคลุมร้อยละ ๑๐๐ ของพื้นที่ตำบลสวนป่าน

การบริการ

     หอกระจ่ายข่าว ๘ แห่ง (หมู่ที่ ๑ – หมู่ที่ ๖)

     สถานที่ออกกำลังกาย ๔ แห่ง (หมู่ที่ ๓ / หมู่ที่ ๕ / หน้า อบต.)

     สนามกีฬา ๒ แห่ง (หมู่ที่ ๕ / หมู่ที่ ๖)

ไปรษณีย์หรือการสื่อสารหรือการขนส่ง และวัสดุ ครุภัณฑ์

     ๑. ไปรษณีย์ ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลสวนป่านไม่มีที่ทำการไปรษณีย์

     ๒. การสื่อสาร ในการแจ้งข่าวสารให้ประชาชนในพื้นที่ทราบโดยการ ประกาศข่าวผ่านหอ

กระจายข่าวขององค์การบริหารส่วนตำบลสวนป่าน และทำหนังสือแจ้งต่อหอกระจายข่าวประจำหมู่บ้าน

พร้อมกับส่งหนังสือถึงผู้นำของแต่ละหมู่บ้านให้ทราบข่าว

     ๓. การขนส่ง ตำบลสวนป่านอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองนครปฐมไปตามถนนเพชรเกษม

สายนครปฐม – ราชบุรี ประมาณ ๑๗ กิโลเมตร การสัญจรถือว่าสะดวกสบายเพราะมีรถโดยสารประจำ

ทางผ่านเส้นทางหลายสายให้บริการ และมีถนนเชื่อมต่อเขตพื้นที่ใกล้เคียงทุกสาย แต่มีถนนบางส่วน

ที่มีปัญหาคือ องค์การบริหารส่วนตำบลสวนป่าน ไม่สามารถดำเนินการ ก่อสร้างหรือซ่อมแซมได้

เนื่องจากพื้นที่ยังไม่เป็นที่สาธารณะ จะดำเนินการได้ก็ต่อเมื่อต้องเป็นที่สาธารณะ ปัจจุบัน

องค์การบริหารส่วนตำบลสวนป่าน มีเส้นทางคมนาคม ดังนี้

     ถนนลาดยาง ๓๔ แห่ง

     ถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก ๑๖ แห่ง

     ถนนหินคลุกลูกรัง ๒๘ แห่ง

ทรัพยากรธรรมชาติ

     ทรัพยากรธรรมชาติ หมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มีประโยชน์สามารถสนองความต้องการ

ของมนุษย์ได้ หรือมนุษย์สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ เช่น บรรยากาศ ดิน น้ำ ป่าไม้ ทุ่งหญ้า สัตว์ป่า 

แร่ธาตุ พลังงาน รวมทั้งกำลังจากมนุษย์ด้วย (ชัยศรี ธาราสวัสดิ์พิพัฒน์) ทรัพยากรธรรมชาติ

เป็นสิ่งที่สำคัญ เป็นต้นทุนหรือวัตถุดิบที่มนุษย์ สามารถ นำมาใช้เพื่อความเจริญทางเศรษฐกิจ

พื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ พื้นที่นั้นจะ มีความเจริญทางด้านเศรษฐกิจ แต่เมื่อใด

ก็ตามที่ ประชาชนในพื้นที่ นำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ไม่ถูกวิธีก็ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติบางชนิด

หมดสิ้นไปจากโลกนี้ได้ ดังนั้น ทุกคนจึงควรเรียนรู้ และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเหล่านั้น

     น้ำ

     น้ำ (water) น้ำที่ใช้ในการอุปโภค-บริโภค เป็นน้ำที่ได้จากน้ำฝน และน้ำจากกิจการประปา 

ขององค์การบริหารส่วนตำบลสวนป่าน ซึ่งน้ำยังไม่สามารถใช้ดื่มได้ใช้อุปโภคเพียงอย่างเดียว

สาหรับน้ำใต้ดินมีการนำมาใช้โดยการเจาะบ่อบาดาล แต่น้ำที่ได้กับจำนวนบ่อที่มียังไม่สามารนำขึ้นมาใช้

ให้พอเพียงได้ ส่วนน้ำจากคลองชลประทานยังคงประสบปัญหาน้ำแห้งมาโดยตลอด

 

     ป่าไม้

     ป่าไม้ (forest) ทรัพยากรป่าไม้นับว่ามีความสำคัญมากในด้านของการอนุรักษ์ดิน น้ำ และสัตว์ป่า

ซึ่งอำนวยประโยชน์ให้มนุษย์ทั้งทางตรง และทางอ้อม เนื่องจากป่าไม้นั้นสามารถขึ้นทดแทน

โดยธรรมชาติ หรือการปลูกให้เป็นป่า ขึ้นมาใหม่ได้ ป่าไม้จึงถูกจัดอยู่ในทรัพยากรธรรมชาติ

พวกที่เกิดขึ้นทดแทนและรักษาให้คงอยู่ได้

     ตำบลสวนป่านพื้นที่ส่วนใหญ่ทำการเกษตรจึงไม่พบว่ามีพื้นที่ป่าไม้ แต่องค์การบริหารส่วนตำบล

สวนป่านยังคงให้ความสำคัญกับเรื่องการอนุรักษ์ดิน น้ำ โดยจัดโครงการปลูกต้นไม้เนื่องในโอกาสหรือ

วันสำคัญต่างๆ เพื่อให้พื้นที่ภายในตำบลสวนป่านเป็นพื้นที่สีเขียว และยังประโยชน์แก่ประชาชน

ในชุมชนด้วย

     ภูเขา

     ภูเขา (mountain) เป็นลักษณะของพื้นโลกที่มีความสูงกว่าพื้นที่บริเวณโดยรอบที่มีความสูงตั้งแต่

600 เมตรขึ้นไปจากพื้นที่บริเวณรอบเขตพื้นที่ตำบลสวนป่านไม่พบว่ามีภูเขา ด้วยลักษณะภูมิประเทศ

เป็นที่ราบลุ่ม

 

     คุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติ

     เมื่อจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นทำให้ความต้องการในการใช้ทรัพยากรเพิ่มมากขึ้นตามมา อันนำไปสู่

ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติถูกทำลาย และเสื่อมโทรม ซึ่งปัญหาดังกล่าวเหล่านี้ได้ส่งผลกระทบโดยตรง

ต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ ดังนั้นคุณภาพชีวิตของประชากรจึงขึ้นอยู่กับจำนวนประชากรและ

ทรัพยากรธรรมชาติ ที่มีความสมดุลกันเมื่อสภาพแวดล้อมทางกายภาพถูกทำลายหรือถูกใช้ไป

ย่อมส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ ที่อยู่อาศัย การศึกษา การจ้างงานและรายได้ ทั้งทางตรง

และทางอ้อม ดังนั้น โครงสร้างประชากร และ ทรัพยากรธรรมชาติ จะต้องกล่าวถึงบทบาทของ

องค์การภาครัฐในการดำเนินการจัดใช้ ทรัพยากรธรรมชาติให้ถูกต้องและรอบคอบไปพร้อมๆ กับ

การพัฒนาองค์กรรวมทั้งนโยบายของชุมชน และการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ทั้งนี้เพื่อให้การใช้

ทรัพยากรธรรมชาติอยู่ในขอบเขตที่จะไม่ก่อให้เกิดความ เสื่อมโทรมไปเร็วกว่านี้ หรือเพื่อให้เกิดปัญหา

กับสภาพแวดล้อมให้น้อยที่สุด ความสัมพันธ์ระหว่างประชากรกับทรัพยากรธรรมชาติ

     ภาพรวม คุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติ ในพื้นที่ของ องค์การบริหารส่วนตำบลสวนป่าน 

ส่วนมากเป็นพื้นที่สำหรับ การเพาะปลูก ที่อยู่อาศัย ร้านค้า ตามลำดับ และมีพื้นที่เพียงเล็กน้อยที่เป็น

พื้นที่สาธารณะ ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ ก็ได้แก่ ดิน น้ำ ต้นไม้ อากาศที่ไม่มีมลพิษ ปัญหาคือ

เนื่องจากว่าพื้นที่บางส่วน เรื่อง น้ำที่ใช้ในการทำการเกษตร ในช่วงฤดูแล้ง ก็ต้องรอ น้ำฝนในช่วง ฤดูฝน

มีแหล่งน้ำใช้ในการเกษตรไม่เพียงพอ ปัญหาคือยังไม่สามารถหาแหล่งน้ำสำหรับการเกษตรได้เพิ่มขึ้น

เพราะพื้นที่เป็นของประชาชน เอกชน ปัญหาด้านขยะ เป็นปัญหาความจำเป็นเร่งด่วนมาก จากการ

ประชุมประชาคมการจัดทำแผนพัฒนาฯ ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๕๗ เพราะทางองค์การบริหารส่วนตำบล

สวนป่าน ไม่ได้ดำเนินการจัดเก็บขยะ เดิมที่ประชาชนใช้วิธีการเก็บเผา หรือฝั่งกลบกันเอง

ภายในครัวเรือน เมื่อประชาชนมีปริมาณเพิ่มขึ้น ขยะก็มากขึ้น การแก้ไขปัญหา องค์การบริหารส่วนตำบล

สวนป่าน ได้จัดทำโครงการเพื่อแก้ปัญหาให้กับประชาชนและเป็นไปตามความต้องการของประชาชน

เช่น โครงการจัดหาถังขยะ รถเก็บขยะเพื่อรองรับขยะให้ครอบคลุมทั้งตำบล โครงการปลูกต้นไม้

ในวันสำคัญต่างๆ ในพื้นที่ของตนเองและที่สาธารณะรวมทั้งปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์ของตำบลสวนป่าน

ให้ร่มรื่นสวยงาม ให้เป็นเมืองน่าอยู่ เป็นที่ภาคภูมิใจของประชาชนภายในชุมชน